AIA Multi-Pay CI Plus ประกันโรคร้าย เจอ จ่าย หลายจบ ครบถึงการดูแล
ใกล้สิ้นเดือนทีไร เปิดกระเป๋าเงินไปก็เหมือนใจจะขาดทุกที ทำให้ต้องหันไปพึ่งเมนูยอดฮิตอย่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อยื้อชีวิตสิ้นเดือนเอาไว้ เพราะง่าย สะดวก รวดเร็วและราคาไม่แพง แถมมีให้เลือกรสชาติอย่างหลากหลาย แต่รู้หรือไม่ หากเราทานบะหมี่กึงสำเร็จรูปทุกวันจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย?
การทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปวันละ 1 ห่อ อาจทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำเอาไว้ว่าปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน ไม่ควรเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หรือเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา สำหรับคนไทย ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้ทานในแต่ละวัน ผู้ชายควรบริโภค 475 - 1,475 มิลลิกรัม ผู้หญิงควรอยู่ที่ 400 - 1,200 มิลลิกรัม
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนใหญ่ห่อละประมาณ 60 กรัม หากทานหมดห่อจะได้รับโซเดียม 1,400 2,600 มิลลิกรัม ถ้าเป็นห่อใหญ่ขึ้น หรือที่เรียกว่าบิ๊กแพ็ค ปริมาณผงปรุงรสหรือเครื่องปรุงยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณมากเกินความต้องการทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
เมื่อสะสมไปนาน ๆ ร่างกายไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกาย จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แขน ขา บวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก และหากร่างกายไม่สามารถขับโซเดียมออกได้ทัน จะเกิดการสะสมในร่างกายเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดหัวใจโตและหัวใจวายได้ในที่สุด
นอกจากโรคทั้งหลายแล้ว จะเห็นได้ว่าสารอาหารที่มีในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีเพียงคาร์โบไฮเดรต และโซเดียม หากกินบะหมี่วันละ 1 ห่อ หรือ 1 ถ้วยต่อวัน จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมในซองเครื่องปรุงเฉลี่ย 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน บวกลบคูณหารเข้าไปหากกินวันละ 2-3 มื้อก็ไม่ต้องพูดถึงว่าโซเดียมจะกระฉูดแค่ไหนยังไม่นับรวมการเติมเครื่องปรุงรสเค็มในอาหารปรุงสำเร็จทำให้ได้รับโซเดียมเพิ่มขึ้นอีก เช่น น้ำปลา หรือซีอิ๊ว
เพื่อไม่ให้ได้รับโซเดียมเกินมาตรฐานและไม่ทำร้ายร่างกายตนเอง ไม่แนะนำให้ทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างเดียว เพราะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เนื่องจากสารอาหารหลักในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมันอิ่มตัว และโซเดียม จึงไม่ควรทานบ่อย อาจเพิ่มเนื้อสัตว์ ไข่ และเติมผักอย่างน้อย 2 ทัพพี เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เลี่ยงการทานดิบ เพราะเส้นบะหมี่จะไปพองตัวในกระเพาะ อาจทำให้ท้องอืดได้ เลี่ยงการเติมผงปรุงรสหมดซอง และทานน้ำซุปหมดถ้วย ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
ดังนั้น ลองปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยการให้ความสำคัญกับการเลือกทานมากขึ้น เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมเสริมความมั่นใจ ด้วยประกันโรคร้ายแรงที่ปกป้องคุณให้สู้ทุกวิกฤตสุขภาพ
AIA Multi-Pay CI Plus ประกันโรคร้าย เจอ จ่าย หลายจบ ครบถึงการดูแล ที่พร้อมคุ้มครองโรคมะเร็งทุกระยะ และครอบคลุมไปถึง 62 โรค/การรักษา ใน 6 กลุ่มโรคร้ายแรง รวมถึงการเป็นซ้ำบนโรคเดิม ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน(1)
โดยคุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 99 ปี* เบี้ยเริ่มต้นเพียงปีละหลักพัน บนความคุ้มครองหลักล้าน
*สัญญาเพิ่มเติมเอไอเอ มัลติเพย์ ซีไอ (AIA Multi-Pay CI) คุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 99 ปี
สัญญาเพิ่มเติม เอไอเอ โทเทิล แคร์ (AIA Total Care)
- ผลประโยชน์ภาวะวิกฤตที่มีผลต่อการดำรงชีวิต (MIB: Major Impact Benefit) คุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 99 ปี หรือจนกระทั่งแบบประกันภัยหลักสิ้นผลบังคับ
- ผลประโยชน์การดูแลต่อเนื่องจากโรคร้ายแรง (CCB: Continuing Care Benefit) คุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 80 ปี หรือจนกระทั่งแบบประกันภัยหลักสิ้นผลบังคับ
หมายเหตุ
- เอไอเอ มัลติเพย์ ซีไอ พลัส เป็นชื่อการตลาดของสัญญาเพิ่มเติม AIA Multi-Pay CI (เอไอเอ มัลติเพย์ ซีไอ) คู่กับสัญญาเพิ่มเติม AIA Total Care (เอไอเอ โทเทิล แคร์)
- ผลประโยชน์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรง (Relapsed CI) หลังจากบริษัทได้จ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรง ดังต่อไปนี้เป็นครั้งแรกแล้ว โรคมะเร็งระยะลุกลาม กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน และต่อมาเกิดการกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรงที่บริษัทได้เคยจ่ายผลประโยชน์ไปแล้วภายใต้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงอีก ในอัตราร้อยละ 100 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุดโรคละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ผลประโยชน์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรง (Relapsed CI) จะไม่นำระยะเวลาห้ามเคลม (No Claim Period) มาพิจารณา และการจ่ายผลประโยชน์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรง (Relapsed CI) แต่ละครั้งจะถูกนับและใช้สิทธิภายใต้จำนวนครั้งสูงสุด (6 ครั้ง)
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมอนามัย