เป็นฟรีแลนซ์ยุคนี้ ประกันสุขภาพต้องเข้า! เจ็บป่วยเมื่อไหร่ ไปต่อได้ไม่บานปลาย
หากเรามองย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว การทำงานแบบฟรีแลนซ์อาจจะไม่ได้รับความนิยมมากอย่างในปัจจุบัน แต่ในยุคที่เทคโนโลยีส่งผลต่อรูปแบบการทำงานและทัศนคติที่เปลี่ยนไป การเป็น ชาวฟรีแลนซ์ ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น สไตล์การทำงานที่มีอิสระ การทำงานได้จากทุกที่ และความสามารถในการควบคุมเวลาของตัวเอง แถมยังอาจจะมีรายได้ที่เยอะกว่าเงินเดือนขั้นต่ำเสียอีก และยิ่งทำมากก็ยิ่งได้มาก
"เพราะความไม่แน่นอน คือความแน่นอนของคนฟรีแลนซ์"
แม้จะมีความอิสระ แต่ก็มีความไม่แน่นอนที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้จากงานฟรีแลนซ์ที่ไม่คงที่ หรือความขาดแคลนเรื่องการได้รับสิทธิประโยชน์จากสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ประกันภายใต้หน่วยงานหรือสังกัดการจ้างงานแบบดั้งเดิมที่ถ้าเจ็บป่วยไม่สบายก็ยังมีสิทธิลาป่วย แล้วแบบนี้จะมีตัวช่วยในการจัดการความเสี่ยงที่ไม่แน่นอนแบบนี้อย่างไรบ้าง?
ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิพิเศษสำหรับฟรีแลนซ์
ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นหนึ่งในวิธีที่ชาวฟรีแลนซ์สามารถช่วยบรรเทาความเสี่ยงต่าง ๆ ที่พบเจอได้ โดยเงื่อนไขคือผู้สมัครต้องประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องไม่ได้ทำงานประจำนั่นเอง สิทธิประโยชน์ก็จะมีดังนี้
กรณีเจ็บป่วย: ผู้ประกันตน ม.40 มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคม เช่น การขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อนอนโรงพยาบาลจากประกันสังคม วันละ 300 บาท หรือกรณีหยุดพักรักษาตัวที่บ้านตามความเห็นแพทย์ วันละ 200 บาท
เงินชดเชยรายได้: ผู้ประกันตนที่ไปพบแพทย์สามารถขอรับเงินทดแทนรายได้เมื่อไปพบแพทย์ ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี
กรณีทุพพลภาพ: ผู้ที่เกิดกรณีทุพพลภาพสามารถรับเงินทดแทนรายได้ 500-1,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
ค่ารักษาไม่บานปลายชีวิตไปต่อได้ด้วย ประกันสุขภาพดี ๆ
อย่างไรก็ตาม คำว่า "ทำงานมาเพื่อหาหมอ" นั้นอาจจะไม่เกินจริงสำหรับชาวฟรีแลนซ์ ยิ่งถ้าในกรณีที่ป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ค่ารักษาอาจบานปลาย แค่ประกันสังคมอาจไม่เพียงพอดูแลคุณอีกต่อไป
ดังนั้นการมีประกันสุขภาพ คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ฟรีแลนซ์มั่นใจว่าจะได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่ดีในด้านการรักษาพยาบาล ทำให้ชีวิตสามารถไปต่อได้ด้วยความสบายใจ อย่าง AIA Health Saver ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) ให้คุณอุ่นใจแบบสบาย ๆ จ่ายเบี้ยฯ ได้ไม่หนักใจ
เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล1 ทั้งแบบผู้ป่วยใน (IPD) และ ผู้ป่วยนอก (OPD) ให้คุณสบายใจไม่ว่าจะเจ็บป่วยมากหรือเจ็บป่วยน้อยแค่ไหน ก็รับการรักษาได้ก่อนจะกลายเป็นเรื่องใหญ่!
ด้วยเบี้ยประกันภัยที่คุ้มค่า เริ่มต้นเพียง 575 บาทต่อเดือน พร้อมอุ่นใจยิ่งกว่าแม้ตรวจเจอโรคร้ายแรงยอดฮิต² เพราะเอไอเอเบิ้ลความคุ้มครองให้เป็นสองเท่า
เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 500,000 บาท 1
เพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า³ เมื่อตรวจพบ 6 โรคร้ายแรงยอดฮิต² รวม 4 ปีกรมธรรม์
เบี้ยฯ เริ่มต้นเพียงเดือนละ 575 บาท4
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอก (OPD General) 5 สูงสุดถึง 30 ครั้ง ต่อรอบปีกรมธรรม์ 6
ดูแลและให้ความคุ้มครองคุณอย่างยาวนานและต่อเนื่อง สูงสุดถึงอายุ 99 ปี
1 ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์
2 โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
3 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 - 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 - 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์
4 คำนวณจากเบี้ยประกันภัยมาตรฐานรายปี 6,900 บาท สำหรับเพศชายอายุ 21 - 25 ปี แผนความคุ้มครอง 200,000 บาท
5 เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
6 เฉพาะแผนความคุ้มครอง 400,000 บาท คุ้มครอง 1,000 บาท/ครั้ง และแผนความคุ้มครอง 500,000 บาท คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์